ไทย | English
Cover

Center of Excellence on Medical Biotechnology

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 โดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันแกนนำ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)

การดำเนินการของศูนย์เป็นความร่วมมือโดยกลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้และความชำนาญระดับแนวหน้าของประเทศ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ เพื่อการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตัวยาชีววัตถุใหม่สำหรับการรักษาและชุดตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยใช้หลักการทำวิจัยครบวงจร

วัตถุประสงค์

งานวิจัยที่มุ่งเป้านวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์จะทำให้เกิดผลกระทบดังนี้

  • เพิ่มความสามารถในการผลิต การวิเคราะห์ การทดสอบ และการวิจัย เพื่อเพิ่มคุณภาพสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
  • สร้างกลุ่มวิจัยที่มีความสามารถในการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์
  • ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆให้เกิดการสร้างและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชีววัตถุ (Partnering facilitation and Technology Licensing)
  • สร้างและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ทางด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
  • สร้างขีด ความสามารถ (Capacity Building)ของประเทศทางด้านการผลิตยาชีววัตถุ
  • ลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
  • เพิ่มการเข้าถึงยาชีววัตถุที่มีประสิทธิภาพสูงแก่ประชาชนทั่วไป
  • ยกระดับมาตรฐานและสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขของประเทศ

ประกาศการให้ทุนวิจัยของ ศทพ./CEMB ประจำปีงบประมาณ 2562

วิสัยทัศน์

  • การผลิตผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนา
    • ชีววัตถุ (Biologics) ได้แก่ โปรตีนเพื่อการรักษา (Therapeutic proteins) และวัคซีน (Vaccines)
    • ชุดตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic Test Kits)
  • การพัฒนาผลงานวิจัยให้เป็นนวัตกรรมเพื่อไปสู่การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม
  • การถ่ายทอดความรู้ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชน
  • การสร้างบุคลากรวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้
  • กระตุ้นให้เกิดการสร้างอุตสาหกรรมยา ชีววัตถุ และที่เกี่ยวข้อง

พันธกิจ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 โดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันแกนนำ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)

การดำเนินการของศูนย์เป็นความร่วมมือโดยกลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้และความชำนาญระดับแนวหน้าของประเทศ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ เพื่อการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตัวยาชีววัตถุใหม่สำหรับการรักษาและชุดตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยใช้หลักการทำวิจัยครบวงจร

ผลการดำเนินงานประจำปี 2559-2560

ศูนย์ฯ มีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการทำวิจัยโดยโจทย์วิจัยจะเน้นด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ในส่วนงานวิจัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี และงานวิจัยเพื่อการต่อยอดผลงานวิจัยพื้นฐานดังกล่าวให้เป็นนวัตกรรมและนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับตอบโจทย์อุตสาหกรรมชีววัตถุของประเทศ รวมทั้งนำโจทย์วิจัยจากภาคอุตสาหกรรมมาให้นักวิจัยเครือข่ายดำเนินการเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและเอกชน

  1. Production of recombinant protein for enhance biological property of glass ionomer cement for medical and dental applications
  2. Development of a practical paper-based DNA sensing device for detecting thalassemia mutations
  3. Optimization of rCRM197 carrier protein production in Escherichia coli
  4. A paper-based RNA biosensor for rapid and sensitive diagnosis of virus infection
  5. Nanoencapsulated curcumin for prevention of cholangiocarcinoma
  6. Development of Anti-Androgenic Alopecia (Hair Loss) Products from Thai Plant Extracts
  7. Development of chimeric antigen receptor (CAR)-T cells for nasopharyngeal cancer therapy
  8. Utilization of MUBio building for process development of biologics and diagnostic kits production in pilot scale facility
  9. Establishment of Reference Laboratory of Process Analytical Technology for Biopharmaceutical, Pharmaceutical and Nutraceutical Products