ขอบเขตของงานวิจัยที่ให้การสนับสนุน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์เน้นให้การสนับสนุนการวิจัยที่ตอบโจทย์นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ
Biologics (therapeutic proteins and vaccines) (สำหรับโครงการวิจัยเดี่ยว และ คลัสเตอร์วิจัย) ได้แก่การวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีววัตถุหรือแนวทางที่ใช้ชีววัตถุเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับ
Diagnostic Test Kits (สำหรับโครงการวิจัยเดี่ยว และคลัสเตอร์วิจัย) ได้แก่การวิจัยแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจโรคที่ทันสมัย แม่นยำ เป็นที่ยอมรับโดยใช้หลักการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
Nutraceuticals (เฉพาะโครงการวิจัยเดี่ยว) ได้แก่การวิจัยที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการผลิต โดยมีการศึกษาที่เข้าใจกลไกการทำงานของสารที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนและพิสูจน์ได้ โดยผลงานวิจัยดังกล่าวข้างต้นต้องแสดงให้เห็นความเป็นนวัตกรรมที่เชื่อมโยงและสามารถนำไปใช้ได้จริงกับภาคอุตสาหกรรมและอาจมี ผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้วหรือมีแผนทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
วงเงินทุนสนับสนุนและระยะเวลาดำเนินการ
แบบโครงการวิจัยเดี่ยว (งบประมาณไม่เกิน 2 ล้านบาทระยะเวลา 3 ปี)
แบบคลัสเตอร์วิจัย (มีนักวิจัยร่วมไม่น้อยกว่า 3 สถาบัน โครงการย่อยไม่น้อยกว่า 3 โครงการ งบประมาณไม่เกิน 15 ล้านบาทระยะเวลา 3 ปี)
โดยทุนวิจัยที่สนับสนุนจะใช้เป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนให้แก่ นักวิจัย (Research Assistant: RA) และค่าใช้จ่ายในโครงการอื่นๆตามรายละเอียดที่แนบมา สำหรับงบประมาณ ปี 2561 ข้ามปีจนถึง 2562 โดยทางศูนย์มีแผนที่จะของบประมาณและทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในปีที่ 3 และปีต่อไป ทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพื่อการสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องและเพียงพอมากยิ่งขึ้นตามความเหมาะสม
คุณสมบัติสำหรับนักวิจัยที่เสนอขอรับทุน
เป็นนักวิจัยในสังกัดมหาวิทยาลัยเครือข่ายที่เคยเสนอโครงการมายังศูนย์ หรือ นักวิจัยที่มีความสนใจเสนอโครงการใหม่ต่อศูนย์
โครงการที่ได้รับการพิจารณาจากนักวิจัยข้างต้นต้องสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานในระยะที่ 3 ของโครงการศูนย์ความเป็นเลิศของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาฯ (สบว.) คือเน้นนวัตกรรมที่มีความเชื่อมโยงและมีความเป็นไปได้ที่สามารถนำไปใช้ได้กับภาคเอกชน โดยนวัตกรรมหมายถึงทั้งด้านผลิตภัณฑ์ (Products) กระบวนการ (Process) และการให้บริการ (Service) กรณีที่ข้อเสนอโครงการมีหนังสือรับรองจากภาคเอกชนหรือแหล่งทุนอื่นที่แสดงความสนใจและความพร้อมในการร่วมลงทุนโครงการวิจัย (matching fund) จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
ขอให้นักวิจัยผู้สนใจที่มีคุณสมบัติยื่นข้อเสนอโครงการดังนี้
กรณีโครงการวิจัยเดี่ยวยื่นแบบฟอร์ม Research Full Proposal ตามแบบฟอร์ม CEMB-FP01-62
กรณียื่นโครงการวิจัยแบบคลัสเตอร์วิจัย ให้ยื่นข้อมูลโปรแกรมวิจัยตามแบบฟอร์ม CEMB-CRP01-62 พร้อมทั้ง Research Full Proposal ของแต่ละโครงการย่อย (ไม่น้อยกว่า 3 โครงการ) ตามแบบฟอร์ม CEMB-FP01-62
ศูนย์ฯจะพิจารณา Research Full Proposal โดยมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญร่วมพิจารณา โดยกรรมการจะแจ้งผลการพิจารณา Research Full Proposal ที่ผ่านการพิจารณาในเบื้องต้น
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์แจ้งผลการพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยต่อ สบว. และทำสัญญาให้ทุนกับนักวิจัยเมื่อได้รับการอนุมัติงบประมาณต่อไป