ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 โดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันแกนนำ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
การดำเนินการของศูนย์เป็นความร่วมมือโดยกลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้และความชำนาญระดับแนวหน้าของประเทศ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ เพื่อการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตัวยาชีววัตถุใหม่สำหรับการรักษาและชุดตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยใช้หลักการทำวิจัยครบวงจร
งานวิจัยที่มุ่งเป้านวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์จะทำให้เกิดผลกระทบดังนี้
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 โดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันแกนนำ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สบว.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.)
การดำเนินการของศูนย์เป็นความร่วมมือโดยกลุ่มนักวิจัยที่มีความรู้และความชำนาญระดับแนวหน้าของประเทศ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาร่วมกันจัดทำโครงการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ เพื่อการสร้างเสริมศักยภาพของประเทศด้านการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตัวยาชีววัตถุใหม่สำหรับการรักษาและชุดตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค โดยใช้หลักการทำวิจัยครบวงจร
ศูนย์ฯ มีนโยบายสนับสนุนให้เกิดการทำวิจัยโดยโจทย์วิจัยจะเน้นด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ในส่วนงานวิจัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องมี และงานวิจัยเพื่อการต่อยอดผลงานวิจัยพื้นฐานดังกล่าวให้เป็นนวัตกรรมและนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับตอบโจทย์อุตสาหกรรมชีววัตถุของประเทศ รวมทั้งนำโจทย์วิจัยจากภาคอุตสาหกรรมมาให้นักวิจัยเครือข่ายดำเนินการเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและเอกชน